คำว่า
ไทย หมายความว่า
อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการสร้างคำที่เรียก "การลากคำเข้าวัด" ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลัก
คติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า
ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของ
พระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า
ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว
ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลี –
สันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง
ประวัติ
พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์
อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลี-สันสกฤต มอญ และ เขมร
[ต้องการอ้างอิง]
สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
- ตัดพยัญชนะ ฃ ฅ ฆ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ แล้วใช้ ข ค ค ด ต ถ ท ธ น ส ส ล ตามลำดับแทน
- พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น
- พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
- เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
- เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
- ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
- เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
- เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
- ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับ
ภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ
พยัญชนะมีหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เช่น น้อง สวย มาก จมูก ตลาด ปรอท และพยัญชนะท้าย เช่น บ้าน หลัง เล็ก
- พยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะต้นในคำ ๆ หนึ่ง อาจมีเสียงเดียว หรืออาจมีสองเสียงก็ได้ จึงแบ่งพยัญชนะต้นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะคู่ ซึ่งพยัญชนะคู่แบ่งออกเป็น อักษรควบ และอักษรนำ
- พยัญชนะท้าย เป็นพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ ได้แก่ ตัวสะกด และตัวการันต์
นอกจากนี้ พยัญชนะยังทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น กม. พ.ศ. ด.ญ.
อักษรนำ คือ การนำพยัญชนะ 2 ตัวมาเรียงกัน แล้วประสมด้วยสระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงต้องออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียง อะ กึ่งมาตรา เช่น
ถนน | อ่านว่า | ถะ - หนน |
ขยาด | อ่านว่า | ขะ – หยาด |
อักษรที่มี อ นำ มี 4 คำ ได้แก่
อักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะอื่นควบกับ ร ล ว รวมอยู่ในสระเดียวกัน อักษรควบแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ
- อักษรควบแท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวพร้อมกัน
- อักษรควบไม่แท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว
พยัญชนะท้ายคำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์ ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่
- แม่กง มีเสียง ง เป็นตัวสะกด เช่น รัง ดวง บาง
- แม่กน มีเสียง น เป็นตัวสะกด เช่น รวน ลาน คน
- แม่กม มีเสียง ม เป็นตัวสะกด เช่น ผม ชาม เจิม
- แม่เกย มีเสียง ย เป็นตัวสะกด เช่น เฉย วาย สวย
- แม่เกอว มีเสียง ว เป็นตัวสะกด เช่น ยาว หนาว ข้าว
- แม่กก มีเสียง ก เป็นตัวสะกด เช่น รัก มาก โลก
- แม่กด มีเสียง ด เป็นตัวสะกด เช่น ลด มด ทวด
- แม่กบ มีเสียง บ เป็นตัวสะกด เช่น จับ สาบ ชอบ
ตัวสะกดที่มีรูปไม่ตรงกับชื่อของมาตราตัวสะกด เช่น บาท อยู่ในมาตราแม่กด เรียกตัวสะกดนี้ว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ส่วนคำที่ไม่มีตัวสะกด เรียกได้ว่าเป็นคำที่อยู่ใน แม่ ก กา
- ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา
- เมื่อมี ติ ตุ ต ท ธ ศ ษ ส จ ช ซ ฐ ฎ ฏ ฑ ฒ ฒิ ถ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ด สะกด เช่น
- เมื่อมี ญ ณ ร ล เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี น สะกด เช่น
บุญ อ่านว่า บุน | คุณ อ่านว่า คุน |
การ อ่านว่า กาน | ศาล อ่านว่า สาน |
- เมื่อมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี บ สะกด เช่น
- เมื่อมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ก สะกด เช่น
สุข อ่านว่า สุก | ภาค อ่านว่า พาก |
เมฆ อ่านว่า เมก |
ตัวการันต์[แก้ไข]
ตัวการันต์ คือ ตัวอักษรทั้งพยัญชนะและสระที่ไม่อ่านออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาต (-์) กำกับไว้ข้างบน เช่น
หมายเหตุ -์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต ไม่ใช่ตัวการันต์
ตัวการันต์ มีหลักการใช้ดังนี้
- เขียนบนพยัญชนะตัวเดียว เช่น ศิษย์ ทิพย์ รัตน์
- เขียนบนพยัญชนะสองตัวเรียงกัน เช่น ภาพยนตร์ พักตร์ กาญจน์
- เขียนบนพยัญชนะสามตัวเรียงกัน เช่น พระลักษมณ์