http://www.drikoti.net/Goodies/Cursor/News/Gifs/01.gif

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ความรู้วิชา:ภาษาไทย

ภาษาไทย หรือ ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากการสร้างคำที่เรียก "การลากคำเข้าวัด" ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว  เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลี – สันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

ประวัติ

พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลี-สันสกฤต มอญ และ เขมร[ต้องการอ้างอิง]

สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
  • ตัดพยัญชนะ             แล้วใช้   ค        ส  ตามลำดับแทน
  • พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น ญ
  • พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
  • เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก ก็เปลี่ยนเป็น หยาก
  • เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง ก็เขียนเป็น จิง, ทรง ก็เขียนเป็น ซง
  • ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
  • เลิกใช้สระใอไม้ม้วน เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด
  • เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่นมหัพภาคเมื่อจบประโยค จุลภาคเมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาคเชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ
ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาขึ้น และปฏิรูปภาษาไทย พุทธศักราช 2485
พยัญชนะมีหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เช่น น้อง วย าก มูก ลาด รอท และพยัญชนะท้าย เช่น บ้า หลั เล็
  • พยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะต้นในคำ ๆ หนึ่ง อาจมีเสียงเดียว หรืออาจมีสองเสียงก็ได้ จึงแบ่งพยัญชนะต้นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะคู่ ซึ่งพยัญชนะคู่แบ่งออกเป็น อักษรควบ และอักษรนำ
  • พยัญชนะท้าย เป็นพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ ได้แก่ ตัวสะกด และตัวการันต์
นอกจากนี้ พยัญชนะยังทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น กม. พ.ศ. ด.ญ.

อักษรนำ[แก้ไข]

อักษรนำ คือ การนำพยัญชนะ 2 ตัวมาเรียงกัน แล้วประสมด้วยสระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงต้องออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียง อะ กึ่งมาตรา เช่น
ถนนอ่านว่าถะ - หนน
ขยาดอ่านว่าขะ – หยาด
อักษรที่มี  นำ มี 4 คำ ได้แก่
ย่ายู่ย่างยาก

อักษรควบ[แก้ไข]

อักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะอื่นควบกับ ร ล ว รวมอยู่ในสระเดียวกัน อักษรควบแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ
  • อักษรควบแท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวพร้อมกัน
กราบกรานกลับกลายเกลื่อนกลาดขลาดเขลาขวนขวายเคว้งคว้างคลางแคลง
  • อักษรควบไม่แท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว
จริงทรงทราบทรามสร้างเสริมสร้อยศรีเศร้า

ตัวสะกด[แก้ไข]

พยัญชนะท้ายคำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์ ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่
  • แม่กง มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png รัง ดวง บาง
  • แม่กน มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png รวน ลาน คน
  • แม่กม มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png ผม ชาม เจิม
  • แม่เกย มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png เฉย วาย สวย
  • แม่เกอว มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png ยาว หนาว ข้าว
  • แม่กก มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png รัก มาก โลก
  • แม่กด มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png ลด มด ทวด
  • แม่กบ มีเสียง  เป็นตัวสะกด เช่น CorrespMtl5.png จับ สาบ ชอบ
ตัวสะกดที่มีรูปไม่ตรงกับชื่อของมาตราตัวสะกด เช่น บาท อยู่ในมาตราแม่กด เรียกตัวสะกดนี้ว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ส่วนคำที่ไม่มีตัวสะกด เรียกได้ว่าเป็นคำที่อยู่ใน แม่ ก กา
ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา
  • เมื่อมี ติ ตุ ต ท ธ ศ ษ ส จ ช ซ ฐ ฎ ฏ ฑ ฒ ฒิ ถ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี  สะกด เช่น
ชาติ อ่านว่า ชาดธาตุ อ่านว่า ทาดจิต อ่านว่า จิดบาท อ่านว่า บาด
พุธ อ่านว่า พุดเพศ อ่านว่า เพดชาติ อ่านว่า ชาดธาตุ อ่านว่า ทาด
พิษ อ่านว่า พิดทาส อ่านว่า ทาดอาจ อ่านว่า อาดพืช อ่านว่า พืด
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าดรัฐ อ่านว่า รัดกฎ อ่านว่า กดปรากฏ อ่านว่า ปรา - กด
ครุฑ อ่านว่า ครุดพุฒ อ่านว่า พุดวุฒิ อ่านว่า วุดรถ อ่านว่า รด

  • เมื่อมี ญ ณ ร ล เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี  สะกด เช่น
บุญ อ่านว่า บุนคุณ อ่านว่า คุน
การ อ่านว่า กานศาล อ่านว่า สาน

  • เมื่อมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี  สะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบภาพ อ่านว่า พาบ
เสิร์ฟ อ่านว่า เสิบโลภ อ่านว่า โลบ

  • เมื่อมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี  สะกด เช่น
สุข อ่านว่า สุกภาค อ่านว่า พาก
เมฆ อ่านว่า เมก

ตัวการันต์[แก้ไข]

ตัวการันต์ คือ ตัวอักษรทั้งพยัญชนะและสระที่ไม่อ่านออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาต (-์) กำกับไว้ข้างบน เช่น
จันทร์โทรทัศน์กษัตริย์รถยนต์โรงภาพยนตร์
หมายเหตุ -์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต ไม่ใช่ตัวการันต์
ตัวการันต์ มีหลักการใช้ดังนี้
  • เขียนบนพยัญชนะตัวเดียว เช่น CorrespMtl5.png ศิษย์ ทิพย์ รัตน์
  • เขียนบนพยัญชนะสองตัวเรียงกัน เช่น CorrespMtl5.png ภาพยนตร์ พักตร์ กาญจน์
  • เขียนบนพยัญชนะสามตัวเรียงกัน เช่น CorrespMtl5.png พระลักษมณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น